23 มิถุนายน 2552

สรุปข้อสนเทศ : JMART

ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เสริมซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทเป็นธุรกิจที่มีอัตรากำไรต่ำ เนื่องจากการ แข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรม และยังต้องพึ่งพิงรายได้ส่งเสริมการขายจากผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ หากบริษัทเผชิญกับ ความผันผวนทั้งทางด้านธุรกิจ เช่น การปรับลดราคาของสินค้าหรือได้รับค่าส่งเสริมการขายน้อยลง ก็อาจทำให้บริษัทมีผล ประกอบการขาดทุนทันที ดังนั้นบริษัทจึงได้ขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่มีอัตรากำไรสูงขึ้น เช่น ธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีกและธุรกิจ ติดตามเร่งรัดหนี้ นอกจากนี้ ในธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เสริมนั้น บริษัทประเมินว่าบริษัทอยู่ในช่วง เติบโตเพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด หากบริษัทเติบโตได้ตามเป้าหมายก็จะทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ มากขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตรากำไรในอนาคตสูงขึ้นด้วย 6. ความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุน ความเสี่ยงจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นในบริษัท มากกว่าร้อยละ 50 - บริษัทมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ได้แก่ กลุ่มของนายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยาและนางสาวยุวดี พงษ์อัชฌา ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วนรวมกัน ประมาณร้อยละ 93.9 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดก่อนการกระจายหุ้นเพิ่มทุน อย่างไรก็ดีภายหลังที่บริษัทเพิ่มทุน และกระจายหุ้นให้กับประชาชน สัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ดังกล่าวจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 70.9 ของทุนชำระแล้ว ทั้งหมด ซึ่งยังคงสามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เกือบทั้งหมด ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัท จึงมีความเสี่ยงจากการ ไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อถ่วงดุลหรือตรวจสอบเรื่องที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาได้ กรณีพิพาท - ไม่มี - จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีพนักงานจำนวน 1,199 คน ประวัติความเป็นมาโดยสรุป บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) ("บริษัท" หรือ "เจมาร์ท") ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2531 โดยนายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยาและนางสาว ยุวดี พงษ์อัชฌา ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกจำนวน 2,000,000 บาท เพื่อเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกยี่ห้อในระบบเงินผ่อน ก่อนเริ่ม ขยายช่องทางการจำหน่ายเข้าไปในตลาดขายส่ง โดยมีสินค้าหลัก ได้แก่ โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอและเครื่องปรับอากาศ ต่อมาในปี 2535 เริ่มดำเนินธุรกิจการจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านระบบเงินสด ระบบผ่อนชำระและระบบขายส่ง ปัจจุบัน บริษัทประกอบธุรกิจจำหน่ายค้าปลีกและค้าส่งเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ผลิต โทรศัพท์เคลื่อนที่หลักทุกรายและผู้ให้บริการเครือข่ายทุกระบบ นอกจากนั้น บริษัทได้ขยายธุรกิจไปในส่วนการบริหารพื้นที่เช่าสำหรับธุรกิจค้า ปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้ชื่อ IT Junction ซึ่งเป็นพื้นที่ในการบริหารของบริษัทเพื่อการค้าปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่และพื้นที่ค้าปลีกทั่วไป ภายใต้แบรนด์ห้างสรรพสินค้าของบริษัทที่ชื่อ เจ-เวนิว และธุรกิจเร่งรัดหนี้สินและบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) โดยการให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้ เริ่มดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2537 เป็นหนึ่งในผู้ติดตามเร่งรัดหนี้สินรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ได้รับความไว้วางใจทั้งจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ ส่วนการให้บริการหนี้ด้อยคุณภาพ จะทำการประมูลหนี้ด้อยคุณภาพเพื่อบริหารและติดตามชำระหนี้ ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 บริษัทมีทุนจดทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 300,000,000 บาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท และมีทุนชำระแล้วทั้งสิ้น 225 ล้านบาท โดย 1. เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนจำนวน 60,000,000 หุ้น 2. เสนอขายกรรมการผู้บริหารและพนักงานบริษัท 7,500,000 หุ้น 3. เสนอขายผู้มีอุปการคุณ 7,500,000 หุ้น -10- เงินลงทุนในบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 ปรากฏดังนี้ บริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง หน่วย: ล้านบาท ประเภทกิจการ มูลค่าเงินลงทุน ชื่อบริษัท และลักษณะธุรกิจ ทุนชำระแล้ว ร้อยละของหุ้นที่ถือ (ตามราคาทุน) 1. บริษัท เจ เอ็ม ที ธุรกิจเร่งรัดหนี้สิน เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ 40.0 99.99% 40.0 การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา หน่วย: ล้านบาท วัน/เดือน/ปี ทุนที่ (ลด) เพิ่ม หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน พฤศจิกายน 2548 50 200 เป็นเงินทุนหมุนเวียน กรกฎาคม 2549 25 225 เป็นเงินทุนหมุนเวียน มิถุนายน 2552 75 300 เพื่อชำระหนี้ระยะสั้น และ เป็นเงินทุนหมุนเวียน รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ผู้สอบบัญชี ชื่อ นายสมคิด เตียตระกูล บริษัท แกรนท์ ธอนตัน จำกัด นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลของบริษัทและบริษัทย่อยในอัตราไม่น้อยกว่าประมาณร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังจากหักภาษีและสำรอง ตามกฎหมายโดยพิจารณาจากงบการเงินรวมเป็นสำคัญ ทั้งนี้คณะกรรมการของบริษัทมีอำนาจในการพิจารณายกเว้นไม่ดำเนินการตาม นโยบายดังกล่าว หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวได้เป็นครั้งคราว โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อย เช่น ใช้เป็นทุนสำรองสำหรับการชำระคืนเงินกู้ ใช้เป็นเงินลงทุนเพื่อขยายธุรกิจของ บริษัท หรือกรณีมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะตลาด ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัทและบริษัทย่อยในอนาคต บัตรส่งเสริมการลงทุน - ไม่มี - -11- จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2552 ปรากฏดังนี้ จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว 1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders 1.1 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ 15 215,857,349 71.95 1.2 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย - - - 1.3 ผู้มีอำนาจควบคุม - - - 2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 1,494 84,142,651 28.05 3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย -- - รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 1,509 300,000,000 100.00 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2552 ) รายชื่อ หลังการกระจายหุ้น ก่อนการกระจายหุ้น จำนวนหุ้น ร้อยละ จำนวนหุ้น ร้อยละ 1.กลุ่มนายอดิศักดิ์และนางสาวยุวดี 213,607,349 71.20% 212,219,849 94.32% นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา 78,267,146 26.08% 77,667,146 34.52% นางสาวยุวดี พงษ์อัชฌา 70,964,570 23.65% 70,552,070 31.36% นางสาวจุฑามาศ สุขุมวิทยา 27,313,132 9.10% 27,313,132 12.14% เด็กชายเอกชัย สุขุมวิทยา 26,300,000 8.77% 26,300,000 11.69% นางหน่อย พงษ์อัชฌา 9,750,001 3.25% 9,750,001 4.33% นางสาวสมฤทัย พงษ์อัชฌา 562,500 0.19% 562,500 0.25% นายพิศณุ พงษ์อัชฌา 450,000 0.15% 75,000 0.03% 2.นายอดิศักดิ์ นาคเนาวทิม 5,430,000 1.81% 5,280,000 2.35% 3.นายบุญส่ง นิ่มศรีตระกูล 5,000,000 1.67% 5,000,000 2.22% 4.นางหัทยา โหมดประดิษฐ์ 1,875,151 0.63% 1,875,151 0.83% 5.นายทรงศักดิ์ จิตตรอง 250,000 0.08% 250,000 0.11% 6.นายยรรยง อัครจินดานนท์ 75,000 0.03% 75,000 0.03% 7.กลุ่มกรรมการ 2,212,500 0.74% 300,000 0.13% นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว 450,000 0.15% 75,000 0.03% นางมณี สุนทรวาทิน 450,000 0.15% 75,000 0.03% นายเดช บูลสุข 450,000 0.15% 75,000 0.03% นายสุธี ตันติวณิชชานนท์ 37,500 0.01% - - นายพิชิต นิ่มสกุล 375,000 0.13% - - นายพิศิษฐ์ ดัชณาภิรมย์ 450,000 0.15% 75,000 0.03% 8.ผู้มีอุปการคุณ1 7,500,000 2.50% - - 9.พนักงานและผู้บริหาร 4,200,000 1.40% - - 10.ประชาชนทั่วไป 60,000,000 20.00% - - นายวัชระ แก้งสว่าง 3,000,000 1.00% - - นายขันทอง อุดมมหันติสุข 3,000,000 1.00% - - อื่นๆ 54,000,000 18.00% - - รวม 300,000,000 100.00% 225,000,000 100.00% หมายเหตุ 1 ผู้มีอุปการคุณของบริษัท หมายถึง บุคคลธรรมดา และ/หรือนิติบุคคลทั่วไป ซึ่งทำคุณประโยชน์ มีความสัมพันธ์อันดี ให้ คำแนะนำหรือให้ความช่วยเหลือในทางใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมต่อบริษัท บริษัทย่อย และ/หรือ บริษัทร่วม รวมตลอดถึง ผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ลูกค้า คู่สัญญา หรือบริษัทคู่ค้าที่ติดต่อ เคยติดต่อ หรือจะได้ติดต่อในเชิงพาณิชย์กับบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม และ/หรือ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ผู้มีอำนาจควบคุม ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลต่างๆ ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2552 บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 10 ราย ถือหุ้นรวมกัน 417,800 หุ้นคิดเป็นร้อยละ 0.14 ของ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับของบริษัทข้อ 6 ว่า "หุ้นของบริษัทต้องมีบุคคลสัญชาติไทยถืออยุ่ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของหุ้นที่ จำหน่ายแล้วทั้งหมด" คณะกรรมการ (ณ วันที่ 23 มีนาคม 2552) ชื่อ ตำแหน่ง วันที่ดำรงตำแหน่ง 1. นายพิศณุ พงษ์อัชฌา ประธานกรรมการ 26 มีนาคม 2545 2. นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา กรรมการ 26 มีนาคม 2545 3. นางสาวยุวดี พงษ์อัชฌา กรรมการ 26 มีนาคม 2545 4. นางมณี สุนทรวาทิน กรรมการ 26 มีนาคม 2545 5. นายสุธี ตันติวณิชชานนท์ กรรมการ 23 มีนาคม 2552 6. นายพิศิษฐ์ ดัชฌาภิรมย์ ประธานกรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ 26 มีนาคม 2545 7. นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ 31 สิงหาคม 2550 / 29 กรกฎาคม 2550 8. นายเดช บุลสุข กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ 26 มีนาคม 2550 / -12- 30 มีนาคม 2550 9. นายพิชิต นิ่มกุล กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ 26 มีนาคม 2550 นายสุธี ตันติวณิชชานนท์ เลขานุการคณะกรรมการ 11 พฤษภาคม 2552 คณะกรรมการตรวจสอบ (ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550) ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่5/2550 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ รายนามคณะกรรมการตรวจสอบ 1. นายพิศิษฐ์ ดัชฌาภิรมย์ ประธานกรรมการตรวจสอบ 2. นายเดช บุลสุข กรรมการตรวจสอบ 3. นายพิชิต นิ่มกุล กรรมการตรวจสอบ 4. นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว1 กรรมการตรวจสอบ นางสาวสมร ขอดคำ2 เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ หมายเหตุ1คุณสุวิทย์ กิ่งแก้ว ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบนับตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 4/2550 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2550 2 ได้รับแต่งตั้งตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 4/2551 วันที่ 7 สิงหาคม 2551 ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ 1. สอบทานให้ บริษั ท มี ก รรายงานทางการเงิ น อย่างถู ก ต้อ งและเปิ ดเผยอย่ งเพี ย งพอ โดยการประสานงานกั บผู้ สอบบั ญ ชี ภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี โดยพิจารณางบการเงินและรายงาน ทางการเงิน ที่เกี่ย วข้องหลักการบัญชี และวิ ธีปฏิบั ติทางบั ญชีการปฏิบั ติตามมาตรฐานการบัญชี การดำรงอยู่ของกิจการ การ เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีที่สำคัญ รวมถึงเหตุผลของฝ่ายจัดการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายบัญชีก่อนนำเสนอคณะกรรมการ บริษัทเพื่อเผยแพร่แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่อง สำคัญในระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทก็ได้ 2. วางแนวทางและสอบทานให้บ ริ ษั ทฯ มี ระบบการควบคุ มภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล โดยสอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้ตรวจสอบภายใน (ถ้ามี) พิจารณา วางแผน รวมทั้งทบทวนแผนการตรวจสอบภายในประจำปี (Audit Plan) ของบริษัทฯ และการประเมินผลการตรวจสอบร่วมกับ ผู้สอบบัญ ชี แ ละผู้ ตรวจสอบภายใน ถึ ง ปัญ หาหรื อ ข้ อจำ กั ดที่เกิ ดขึ้น จากการตรวจสอบงบการเงิ น วางแผนการควบคุ มการ ประมวลข้ อมู ลทางอิ เล็ คโทรนิกส์ และการรั กษาความปลอดภัยของข้อ มูลเพื่อ ป้อ งกั นการทุจริ ตหรือ การใช้คอมพิ วเตอร์ไป ในทางที่ผิดโดยพนักงานบริษัทฯ หรือบุคคลภายนอก 3. สอบทานการดำ เนิ น การของบริ ษั ทให้ เป็ น ไปตามกฎหมายว่า ด้ ว ยหลั ก ทรั พย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พย์ ข้ อ กำ หนดของตลาด หลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงพิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี โดยคำนึงถึงความ น่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร และปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น รวมถึงประสบการณ์ของ บุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัท 5. พิจารณาให้ความเห็นชอบรายการที่เกี่ยวโยงกัน และ/หรือ การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสิ นทรัพย์ของบริษั ทหรือบริษัทย่อ ย รวมทั้งพิจารณาเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มี ความถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้งพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าวเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ ถือหุ้นของบริษัทต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6. ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และ/หรือ ที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร เช่น ทบทวนนโยบาย การบริ หารทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง ทบทวนการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ ของผู้บ ริหารทบทวนร่วมกั บ ผู้บริหารของบริษัทในรายงานสำคัญๆ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บทรายงานและการวิเคราะห์ ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น 7. จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวจะต้องมี ข้อมูลครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดและจะต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย - ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทถึงความ ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ - ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท - เหตุผลที่เชื่อว่าผู้สอบบัญชีของบริษัทเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งต่อไปอีกวาระหนึ่ง - ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ - รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการบริษัท และ/หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย 8. ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ 9. ดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามหรือที่กำหนดไว้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และ/หรือข้อกำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งดำเนินการตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย วาระการดำรงตำแหน่ง 1. ประธานกรรมการตรวจสอบ 3 ปี 2. กรรมการตรวจสอบ 3 ปี (รวมทั้งการแต่งตั้งเพิ่มและถอดถอนจากกรรมการตรวจสอบ) -13- เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ (ถ้ามี) - ไม่มี - ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น ผู้ถือหุ้นเดิ มก่อนเสนอขายหุ้นต่ อประชาชนทั่วไปที่ถื อหุ้นจำนวน 165,000,000 หุ้น คิดเป็นร้ อยละ 55 ของทุนชำระแล้วหลังเสนอขาย หุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หลักทรัพย์ ของบริ ษั ทเริ่ มทำการซื้ อ ขายในตลาดหลั ก ทรั พย์ โดยเมื่ อ ครบกำ หนด 6 เดื อ น ผู้ ถือ หุ้ น ดั ง กล่ วได้ รับ การผ่ อ นผั น ให้ทยอยขายหุ้ น หรื อ หลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี สามารถ ขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์ - ไม่มี - อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี) ในปี 2549 และ 2550 บริษัท บริษัท แกรนท์ ธอนตัน จำกัด ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทได้ออกจดหมายเพื่อเสนอแนะการควบคุมภายใน ให้แก่บริษัท สรุปได้ดังนี้ 1) ประเด็น: บริษัทไม่มีนโยบายในการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับรายการลูกหนี้ค่าเช่า ( IT Junction) ซึ่งค้างชำระเป็น เวลานาน การดำเนินการ / ความคืบหน้า: บริษัทมีการกำหนดนโยบายในการบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำ หรับลูกหนี้ค่าเช่าแล้ว โดยจะตั้ ง สำรองเต็มจำนวนหากลูกหนี้ค่าเช่าค้างชำระมากกว่าวงเงินมัดจำและค้ำประกัน 2) ประเด็น: รายการสรุปสัญญาค่าเช่าของบริษัทไม่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน และยังไม่มีรายการปรับเปลี่ยนตามสัญญาใหม่ การดำเนินการ / ความคืบหน้า: บริษัทได้ดำเนินปรับปรุงข้อมูลในรายงานดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น 3) ประเด็น: บริษัทไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่พนักงานในแผนกคลังสินค้า ระหว่างการรับและการจ่ายรวมถึงไม่มีการกำหนดสิทธิในการเข้าถึง ข้อมูลในแต่ละระดับของพนักงาน (ยังมีต่อ)