23 มิถุนายน 2552

สรุปข้อสนเทศ : JMART

- สรุปข้อสนเทศ - บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ 9/121-3,126-7 อาคารยูเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 12 ถนนรามคำแหง แขวง สวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพ 10250 โทรศัพท์ 0-2308-8000 โทรสาร 0-2308-8196 Website : www.jaymart.co.th เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2552 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 25 มิถุนายน 2552) ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 300,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 300 ล้านบาท ทุนของบริษัท ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2552 ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 300 ล้านบาท ทุนชำระแล้ว หุ้นสามัญ 300 ล้านบาท ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ราคาเสนอขาย 1.80 บาท วันที่เสนอขาย 17-18 มิถุนายน 2552 โดย เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนจำนวน 60,000,000 หุ้น เสนอขายกรรมการผู้บริหารและพนักงานบริษัท 7,500,000 หุ้น เสนอขายผู้มีอุปการคุณ 7,500,000 หุ้น วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน เพื่อชำระหนี้ระยะสั้น 100 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายงานในกิจการ 35 ล้านบาท การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (ถ้ามี) - ไม่มี - ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจ 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1) ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เสริมและสินค้าเทคโนโลยี ของผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่หลักทุกรายและผู้ให้บริการเครือข่ายทุกระบบ ทั้งในลักษณะค้าปลีกและค้าส่ง 2) ธุรกิจบริหารพื้นที่สำหรับพื้นที่ค้า ปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่และพื้นที่ค้าปลีกทั่วไป และ 3) ธุรกิจบริการติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ รวมถึงการฟ้องสืบทรัพย์ บังคับ คดี ทั่วประเทศไทย ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ลักษณะผลิตภัณฑ์ของบริษัทและบริษัทย่อย บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (บริษัท) 1. ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เสริมและสินค้าเทคโนโลยี ("ธุรกิจจัดจำหน่าย") บริษัทดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายทั้งลักษณะค้าส่งและค้าปลีก โดยมุ่งเน้นไปในสินค้าประเภทเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ของผู้ผลิตทุกราย ได้แก่ Nokia, Motorola, Sony Ericsson Samsung และ LG นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้แบรนด์ J-Fone ซึ่งเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่บริษัทเป็นเจ้าของแบรนด์เองด้วย และเป็นผู้แทนจำหน่ายชุด SIM Card (Subscriber Identification Module) และบัตรเติมเงินของผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบต่างๆได้แก่ GSM, DTAC, GSM 1800 และ TRUE MOVE โดยดำเนินธุรกิจใน 2 รูปแบบ คือ การเป็นผู้แทนจำหน่ายและการเป็นผู้ค้าปลีก ดังนี้ -1- การเป็นผู้แทนจำหน่าย (Distributor & Dealer) โดยบริษัทจะซื้อสินค้าจากผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อขายให้แก่ผู้ค้าปลีกที่เป็นร้านค้า ต่างๆและบริษัทยังมีหน้าที่ในการดำเนินการด้านการตลาดร่วมกับผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงเป็นผู้เก็บสต็อกสินค้าให้พอเพียงกับความ ต้องการของตลาด ซึ่งบริษัทจะได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย ข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ๆ จากผู้ผลิต โทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ บริษัทอาจได้สิทธิเป็น Sole Distributor ของสินค้าบางรุ่น ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างบริษัทกับผู้ผลิต โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (1stTier) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ Sony Ericsson ในอดีต บริษัทยัง เคยเป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (1stTier) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ Motorola ด้วย ตั้งแต่ปี 2552 Motorola มีนโยบายหยุด ดำเนินการทางการตลาดในประเทศไทย บริษัทจึงเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ โดยติดโดยตรงกับ Motorola ที่สิงคโปร์ การเป็นผู้ค้าปลีก (Retailers) บริษัทจะสั่งซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่จากผู้แทนจำหน่าย (Distributor & Dealer) ของแบรนด์ต่างๆเพื่อ จำหน่ายในร้านค้าปลีกของบริษัท หรือบางกรณีที่แบรนด์ดังกล่าวไม่มีผู้แทนจำหน่าย บริษัทก็จะสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่หลัก 5 รายได้แก่ Nokia, Motorola, Sony Ericsson Samsung และ LG นอกจากการเป็นผู้ค้าปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่แล้ว บริษัทยังดำเนินธุรกิจจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มือสอง โดยรับซื้อ โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องเก่าของลูกค้าเฉพาะรายที่ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องใหม่จากทางบริษัท นับเป็นการเพิ่มประเภทสินค้าให้แก่ ลูกค้าและเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องเก่า สำหรับราคารับซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวจะพิจารณา จากราคาตลาดของเครื่องรุ่นนั้นๆ สภาพเครื่องและอุปกรณ์เสริมที่มาพร้อมเครื่อง เป็นหลัก นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายได้จากการให้บริการอันเกิดจากการใช้เครือข่ายร้านค้าของบริษัท (Retailing Network) ให้เป็นประโยชน์ ประกอบด้วย 1) รายได้จากการให้บริการรับชำระค่าสินค้าหรือบริการต่างๆผ่านร้านค้าหรือเครือข่ายของบริษัท (Pay Point) โดยมี บริษัทคู่ค้าที่ตกลงให้ลูกค้าชำระเงินผ่านช่องทางดังกล่าวได้แก่ ลูกค้ากลุ่มธุรกิจการเงิน สาธารณูปโภคและบัตรเครดิต 2) การให้บริการ Drop Point เป็นจุดรับ-ส่ง (Drop Point) เครื่องซ่อมสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เสริมใน ทุกแบรนด์ ทุกรุ่น โดยจะเป็นผู้รับฝากและจัดส่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังศูนย์ซ่อมของเจ้าของแบรนด์และได้รับ ค่าธรรมเนียม 3) การให้บริการ Supporting Hire Purchase (SHP) เมื่อมีลูกค้ามาซื้อสินค้าจากร้านค้ารายย่อยในลักษณะเงิน ผ่อน ร้านค้าดังกล่าวก็จะเป็นผู้ขายสินค้าและประสานงานให้ลูกค้ามาขอสินเชื่อกับบริษัทเช่าซื้อผ่านบริษัท ซึ่งบริษัทได้ทำสัญญาในการ เป็นตัวแทนกับบริษัทเช่าซื้อรายนั้นไว้ก่อนแล้ว โดยบริษัทจะได้รับค่าธรรมเนียมจากการหาลูกค้าให้กับบริษัทเช่าซื้อ และได้รับค่าบริการ ประสานงานจากร้านค้าย่อย 4) การเป็นตัวแทนเปิดร้าน Nokia Shop ซึ่งเป็นร้านค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่เฉพาะแบรนด์ Nokia โดยNokiaจะเป็นผู้ให้ ความช่วยเหลือสนับสนุนค่าตกแต่งภายในร้านบางส่วน และบริษัทในฐานะที่เป็นเจ้าของและผู้บริหารร้านค้าจะ ได้สิทธิในการขายสินค้าโดยรายได้และกำไรจากการขายสินค้าภายในร้านค้าจะเป็นของบริษัท ปัจจุบันบริษัทเป็น เจ้าของและผู้บริหารร้านค้าในรูปแบบ Nokia Shopจำนวน 5 สาขาจากจำนวนร้านค้า Nokia Shopทั้งหมด13 ร้านทั่วประเทศ 2.ธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก บริษัทดำเนินธุรกิจจัดสรรและบริหารพื้นที่เช่า โดยการทำสัญญาเช่าพื้นที่บางส่วนกับเจ้าของพื้นที่เพื่อนำมาจัดสรรและให้เช่าต่อกับลูกค้า รายย่อย พร้อมทั้งดูแล บริหาร จัดการพื้นที่ดังกล่าวตลอดอายุสัญญาเช่า โดยมีแนวทางการดำเนินธุรกิจใน 2 รูปแบบคือ 1) จัดสรรและบริหารพื้นที่ให้เช่าภายในศูนย์การค้า โดยจะเช่าพื้นที่ในส่วนของสินค้าประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ สินค้าเทคโนโลยี ภายในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เช่น เซ็นทรัล บิ๊กซี เพื่อจัดเป็นศูนย์การจำหน่ายสินค้า ไอทีภายใต้ชื่อ IT Junction ปัจจุบันมีจำนวน 199 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล 2) จัดสรรและบริหารพื้นที่ให้เช่าแบบ Stand Alone โดยบริษัทจะเช่าอาคารบางส่วนจากเจ้าของอาคารเป็นสัญญา เช่าระยะยาว เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การค้าขนาดย่อม ภายใต้ชื่อ เจ-เวนิว (Jvenue) ให้บริการขายสินค้าในรูปแบบห้างสรรพสินค้าที่ขาย สินค้าทุกประเภท แต่เน้นการขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และสินค้าเทคโนโลยีเป็นหลักและเป็นจุดขายในการดึงดูดลูกค้า นอกจากนี้ยังมี สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ธนาคารและร้านค้า เป็นต้น ปัจจุบันมี 1 สาขา คือ เจ-เวนิว สาขานิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี -2- บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (บริษัทย่อย) 3.ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ("ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้") เจเอ็มที เป็นผู้ให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้ในส่วนที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพที่เจ้าหนี้ไม่สามารถติดตามได้ ซึ่งครอบคลุมหนี้ทุกประเภท ได้แก่ หนี้สินกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคล หนี้สินบัตรเครดิต หนี้สินค่าสาธารณูปโภคและหนี้สินค่าบริการ เจเอ็มทีจะได้รับค่าธรรมเนียมเป็นสัดส่วนร้อย ละของมูลหนี้ที่ติดตามได้ นอกจากนี้ เจเอ็มที ยังดำเนินธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพโดยประมูลซื้อจากธนาคาร สถาบันการเงินรวมถึง บริษัทเช่าซื้อ เพื่อดำเนินการจัดเก็บเองอีกด้วย 4.ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ การให้บริการด้านกฎหมายและบริการด้านโลจิสติกส์ภายใต้ชื่อ Mr.Speed โดยในส่วนของการให้บริการด้านกฎหมาย เจเอ็มทีจะ รับรู้รายได้ในลักษณะค่าบริการและค่าธรรมเนียมเป็นสัดส่วนร้อยละของจำนวนเงินที่ได้รับชำระหนี้สินคืนจากการบังคับคดีได้ สำหรับงาน บริการด้านจัดส่งเอกสารและพัสดุในการรับ-ส่งเอกสารและสินค้าภายในพื้นที่เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยจะเรียกเก็บค่าบริการตาม ระยะทางที่กำหนดไว้ และมีอัตราการบริการขั้นต่ำ 100 บาท กลยุทธ์การตลาดหลักในการบริการ ได้แก่ คุณภาพการจัดส่งและระยะเวลา การจัดส่งโดยจะจัดส่งสินค้าภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง โครงสร้างรายได้แยกตามประเภทธุรกิจ (ล้านบาท) 2549 2550 2551 ม.ค.-มี.ค.2552 มูลค่า % มูลค่า % มูลค่า % มูลค่า % บริษัท 1. ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯ - การจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯ 4,849 93.39 5,415 91.83 5,055 91.33 1,123 91.30 - การส่งเสริมการขาย 52 1.00 150 2.54 211 3.81 39 3.17 - ธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องฯ1 10 0.21 11 0.19 9 0.16 1 0.08 รวมรายได้จากธุรกิจจัดจำหน่าย 4,911 94.60 5,576 94.56 5,275 95.30 1,163 94.55 2. ธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก - IT Junctions 117 2.25 116 1.97 111 2.01 26 2.11 - เจ-เวนิว - - 12 0.20 17 0.31 4 0.33 รวมรายได้จากธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก 117 2.25 128 2.17 128 2.31 30 2.44 บริษัทย่อย 3. ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้สินฯ - การให้บริการติดตามหนี้สิน 136 2.56 136 2.31 76 1.37 17 1.38 - การซื้อหนี้สินมาบริหาร - - 15 0.25 23 0.42 11 0.89 - ธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง2 9 0.23 13 0.22 13 0.23 5 0.41 รวมรายได้จากธุรกิจจัดการหนี้สิน 145 2.79 164 2.78 112 2.02 3 2.68 รายได้อื่นๆ -ดอกเบี้ยรับ 10 0.19 9 0.15 7 0.13 2 0.16 -รายได้อื่นๆ 9 0.17 20 0.34 13 0.23 2 0.16 รวมรายได้อื่นๆ 19 0.36 29 0.49 20 0.36 4 0.33 รายได้รวม 5,192 100.00 5,897 100.00 5,535 100.00 1,230 100.00 หมายเหตุ :1. ธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่าย ได้แก่ บริการซ่อมโทรศัพท์ บริการสินเชื่อส่วนบุคคล บริการ Support Hire Purchase และการโหลดเพลง 2. ธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการติดตามเร่งรัดหนี้ ได้แก่ การให้บริการด้านกฎหมาย และการให้บริการจัดส่งสินค้า กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เสริมและสินค้าเทคโนโลยี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) กลุ่มลูกค้ารายย่อยทั่วไป โดยซื้อขายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายของบริษัท ครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย ทุกกำลังซื้อ และทุก Life Style 2) กลุ่ ม ลู ก ค้ ที่ เ ป็ น ผู้ แ ทนจำ หน่ ยและร้ นค้ รายย่ อ ย ได้ แ ก่ นิ ติ บุ ค คล หรื อ บุ ค คลธรรมดา ที่ ป ระกอบ ธุ ร กิ จ ขาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับลูกค้ารายย่อยทุกประเภท ทั้งร้านค้าปลีกในระบบ ร้านค้าย่อยอิสระ และร้านค้าแฟรนไชส์ หรือ Chain Store ของ บริษัทอื่นๆ ธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก แบ่งเป็น 2 ประเภท 1) กลุ่มผู้เช่าพื้นที่รายย่อยทั่วไป เป็นกลุ่ มลูกค้าที่เปิดร้านค้า ย่อยสำหรับขายโทรศั พท์เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็ ก หรือมีเจ้าของเป็นบุคคล ซึ่งอาจมีร้านค้าย่อยเพียงร้านเดียว หรือมากกว่าก็ได้ ร้านค้าจะไม่มีแบรนด์ และใช้เงินลงทุนไม่มากนัก 2) กลุ่ มผู้ เช่ พื้น ที่ ป ระเภทธนาคารหรื อ กิ จ การขนาดกลางหรื อ ใหญ่ที่ มี แ บรนด์ เป็ น ของตนเอง เป็น กลุ่ มลูก ค้ ประเภท Chain Retail Store หรือ Chain Restaurant หรือธนาคารต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแบรนด์และมีชื่อเสียง เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องการพื้นที่เช่าที่ ขนาดใหญ่กว่า และต้องลงทุนตกแต่งร้านในปริมาณที่สูงกว่า จึงจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องราคาค่าเช่า และระยะเวลาในการเช่าให้เหมาะสม ควบคู่ไปกับทำเลที่ตั้ง -3- ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ประเภท 1) กลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุด มูลหนี้ที่บริษัทรับจ้างติดตามเร่งรัดหนี้กว่าร้อยละ 59 เป็นหนี้ในกลุ่มนี้ และมูลหนี้ที่ซื้อมาบริหารทั้งหมดก็มาจากกลุ่มนี้ ทำ ให้ลูกค้าธนาคารและสถาบันการเงินเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักทั้งธุรกิ จ ติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ 2) กลุ่มลูกค้าบริษัทโทรคมนาคมและสาธารณูปโภค เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีการว่าจ้างบริษัทติดตามเร่งรัดหนี้มาอย่างยาวนาน เป็น กลุ่มลูกค้าสำคัญของธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้ หนี้ที่ให้บริษัทติดตามสำหรับกลุ่มลูกค้าหนี้มักเป็นหนี้ใหม่ และมีมูลค่าหนี้น้อย แต่มีโอกาสการ ติดตามสำเร็จค่อนข้างสูง 3) กลุ่มลู กค้าบริษั ทค้าส่งและบริษัทขายตรง เป็นกลุ่ มลูกค้าใหม่ของบริษัท โดยบริษัทในกลุ่มนี้เป็นผู้ขายสินค้าไปให้ตัวแทน จำหน่ ยซึ่ง เป็นบุ คคลหรือนิติ บุคคล หนี้ ที่ให้บ ริษัทติ ดตามสำหรั บกลุ่มลูกค้า นี้มักเป็นหนี้ ใหม่ และมี มูลค่า หนี้ไม่ มากนั ก แต่ มีโอกาสการ ติดตามสำเร็จค่อนข้างสูง ช่องทางการจำหน่าย 1. ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เสริมและสินค้าเทคโนโลยี 1) การจำหน่ายแบบค้าส่ง (Wholesale) บริษัทเป็นผู้ค้าส่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับร้านค้ารายย่อยทั้งที่เป็นร้านค้าปลีกในระบบ (Organized Shop) และร้านค้าย่อยอิสระ (Non-Organized Shop) ร้านค้าขายส่ง และผู้แทนจำหน่ายสินค้ารายอื่นๆ โดยบริษัทจะสามารถขายส่งได้ในสินค้าประเภทและรุ่นที่ บริ ษั ท ได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ให้ เ ป็ น ผู้ แ ทนจำ หน่ ยเท่ นั้ น ปั จ จุ บั น บริ ษั ท เป็ น ผู้ แ ทนจำ หน่ ยอย่ งเป็ น ทางการ (1stTier) ของ โทรศัพท์เคลื่อนที่ Sony Ericsson ในอดีต บริษัทยังเคยเป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (1stTier) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ Motorola ด้วย แต่ ตั้งแต่ต้นปี 2552 ถึงปัจจุบัน Motorola หยุดกิจกรรมการตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย แต่บริษัทจึ ง เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ โดยติดโดยตรงกับ Motorola ที่สิงคโปร์ 2) การจำหน่ายแบบค้าปลีก (Retailing) ได้แก่ - ช่องทางค้าปลีกผ่านร้านค้า (Shop) 126 ร้าน ร้านค้าย่อย (Kiosk) 11 สาขา และ ในช่องทาง Modern Trade 62 สาขา - ช่ อ งทางค้ ปลี ก ผ่ นอิ น เทอร์ เ น็ ต บริ ษั ท ได้ จั ด ทำ Website ของบริ ษั ทเพื่ อ ให้ บ ริ ก รขายสิ น ค้ ผ่ นระบบอิ น เทอร์ เน็ ต ที่ www.jaymart.co.th - ช่องทางค้าปลีกผ่าน Jay Mart Home Delivery "1117" โดยผ่านการสั่งซื้อสินค้าทางโทรศัพท์สายด่วน 1117 - ช่องทางค้าปลีกผ่าน Exhibition - ช่องทางค้าปลีกชนิดพิเศษเฉพาะผ่านบัตรสมาชิก (Member Card) ได้แก่ Jay Mart Elite Card, Club Mobile Plus, Jay Mart Privilege Card - ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านร้านค้าเจมาร์ทพาร์ทเนอร์ หรือ Jay Mart Partner (เริ่มต้นในปี 2552) ซึ่งเป็นการร่วมมือกับร้านค้า ย่อย โดยร้านค้าย่อยที่เป็นสมาชิกจะมีสิทธิประโยชน์ในการใช้ป้าย Jay Mart Partner และ สามารถซื้อสินค้าในราคาส่ง และ มี การจัดกิจกรรมการตลาดร่วมกับ Jay Mart 2. ธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก 1) การบริหารพื้นที่ค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าในส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่และสินค้าเทคโนโลยี (IT Junction) ปัจจุบันมีจำนวน 26 สาขา ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด 2) การบริหารพื้นที่ค้าปลีกรูปแบบ Stand Alone (เจ-เวนิว) ปัจจุบัน มี 1 สาขา ตั้งอยู่ในบริเวณชุมชนหน้านิคมอุตสาหกรรมนวนคร ถนนพหลโยธิน กม.46 จังหวัดปทุมธานี 3. ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ บริษัทมีเครือข่ายการติดตามหนี้ครอบคลุมทั้งประเทศไทย โดยเครือข่ายดังกล่าวจะเป็นบุคคลในพื้นที่จังหวัดนั้น มีหน้าที่ในการให้ ข้อมูลลูกหนี้ ติดตามหนี้ภาคสนามหรือเป็นผู้ค้นหาข้อมูลสำคัญของลูกหนี้ การจัดหาผลิตภัณฑ์ 1. ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เสริมและสินค้าเทคโนโลยี สินค้าทั้งหมดที่บริษัทสั่งซื้อโดยส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้อจากผู้แทนจำหน่ายในประเทศ ถึงแม้ว่าสินค้านั้นจะผลิตในต่างประเทศก็ ตาม คงมีแต่เพียงการสั่งซื้อสินค้า Motorola และ J-Fone เท่านั้น ที่สั่งซื้อจากผู้แทนจำหน่ายในต่างประเทศหรือ ชำระค่าสินค้าในสกุลเงิน ต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าความเสี่ยงจากความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะลดลงในอนาคตเนื่องจากบริษัทจะมีการสั่งซื้อสินค้า จาก Motorola น้อยลง เนื่องจาก Motorola ได้หยุดดำเนินกิจกรรมทางการตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ ปี2552 แต่บริษัทจะยังคงมีความ เสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ ยนเนื่อ งจากตั้ง แต่ปี 2552 บริษัทเริ่มมีการสั่ งซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ House Brand ภายใต้แบรนด์ J-Fone จาก ต่างประเทศ 2. ธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก 1. โครงการ IT Junction บริษัทมีนโยบายเลือกทำเลที่ตั้ง โดยพิจารณาปัจจัยหลักจากความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ การคมนาคมขนส่งและจำนวน ประชากรที่ เ ดิ น ทางผ่ นบริ เ วณดั ง กล่ ว ผู้ บ ริ ห รพื้ น ที่ ห ลั ก นโยบายด้ นการตลาด และแผนการดำ เนิ น ธุ ร กิ จ หรื อ การบริ ห รของ ห้า งสรรพสิ น ค้า นั้ น ๆ ว่ มีความเหมาะสมกั บการจั ดตั้ ง พื้ น ที่ค้ ปลีก โทรศัพท์ เคลื่อ นที่ และสิ น ค้า เทคโนโลยีห รื อ ไม่ หลั งจากเลือ กพื้ น ที่ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านการตลาดและด้านการเงินแล้ว บริษัทจะเสนอแผนศึกษาความเป็นไปได้เสนอคณะอนุกรรมการการพัฒนาพื้นที่ เช่า เพื่อทำสัญญาในการบริหารพื้นที่ต่อไป 2. โครงการเจ-เวนิว ในการเลื อ กทำ เลที่ ตั้ ง บริ ษั ท จะต้ อ งตกลงทำ สั ญ ญากั บ เจ้ ของโครงการในการพั ฒนาพื้ น ที่ ร่ ว มกั น โดยจะต้ อ งเป็ น พื้ น ที่ มี ประชากรหนาแน่นและเป็นจุดที่คมนาคมขนส่งสะดวก หรือเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางคมนาคมเป็นหลัก โดยบริษัทจะศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการโดยละเอียดเพื่อที่จะเสนอแผนศึกษาความเป็นไปได้ต่อคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณา หากคณะกรรมการฯ เห็นสมควรจึงเข้าทำ สัญญาในการบริหารพื้นที่ทั้งหมดต่อไป -4- 3. ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ สำหรับเจ้าหนี้บางราย จะเลือกใช้วิธีการขายหนี้ด้อยคุณภาพโดยวิธีการประมูลขาย ซึ่งวิธีนี้ทำให้ไม่ต้องตั้งสำรองหนี้ด้อยคุณภาพ และได้รับเงินในจำนวนที่แน่นอนโดยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการติดตามเร่งรัดหนี้ ในขณะที่บริษัทผู้ประมูลซื้อหนี้ (เจ เอ็ม ที) จะเป็น ผู้รับ ความเสี่ ยงดั งกล่า วจากการลงทุน ซื้อ หนี้ ซึ่ งโดยปกติแล้ ว ราคาประมูลซื้อ หนี้ จะมีส่ว นลดจากมูลหนี้เต็ม ร้ อยละ 85-97 (หรื อ จ่า ย ค่าตอบแทนประมาณร้อยละ 3-15 ของมูลหนี้เต็ม) เพื่อให้ผู้ซื้อหนี้มีกำไรคุ้มกับต้นทุนซื้อหนี้และค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ การแข่งขัน 1. ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เสริมและสินค้าเทคโนโลยี ภาพรวมการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งจะมีลักษณะผสมปะปนกันระหว่างผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่ง และร้านค้าย่อย เนื่องจากตลาด โทรศัพท์เคลื่อนที่มีลักษณะเป็นตลาดเสรีและใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ทำให้มีผู้ค้ารายใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรมได้ง่าย ในส่วนการแข่งขันนั้น มักจะแข่งขันกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดทางธุรกิจและ Core Competence คล้ายๆ กัน โดยอาจจะแบ่งย่อยเป็นกลุ่มค้าปลีก และกลุ่มค้าส่ง กลุ่มค้าปลีก ธุรกิจค้าปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่นับเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมากธุรกิจหนึ่ง เนื่องจากมีผู้ค้าปลีกจำนวนมากรายและ หลากหลายรู ป แบบ ผู้ ค้ รายใหม่ ส มารถเข้ มาดำ เนิ น ธุ ร กิ จ ได้ ไ ม่ ย กนั ก ประกอบกั บ อำ นาจต่ อ รองของผู้ ซื้ อ และผู้ ผ ลิ ต โทรศัพท์ เคลื่อนที่มี ค่อนข้างมาก ผู้ ค้า ปลีก รายย่อ ยจึง จำ เป็น ต้อ งใช้ กลยุ ทธ์ ด้านราคา ซึ่งรวมถึงการขายสินค้ มื อสองและสิ นค้ คุณภาพต่ำราคาถูก และการเลือกทำเลที่ตั้งร้านค้าที่ดีเป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจ แต่สำหรับผู้ค้าปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ระบบจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่แตกต่างเพราะการใช้กลยุทธ์ด้านราคาจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการในระยะยาว ผู้ค้าปลีกในระบบ จึงเน้นการสร้างความแตกต่างในด้านความหลากหลายของสินค้า คุณภาพการให้บริการ การเลือกทำเลที่ตั้ง ปริมาณสาขาที่ลูกค้า สามารถเข้าถึงได้ การให้บริการหลังการขาย และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจ กลุ่มค้าส่ง ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ตกลงทำสัญญาเป็นผู้แทนจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบรนด์หลัก โดยจะทำหน้าที่เป็น ผู้กระจาย สินค้าให้กับผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งจะทำให้ได้รับประโยชน์ต่างๆ เช่น อัตราส่วนกำไรที่เพิ่มขึ้น ได้รับเงินส่งเสริมด้านการตลาด (ยังมีต่อ)