23 June 2009

สรุปข้อสนเทศ : JMART

และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็วขึ้น แต่ทั้งนี้ ผู้แทนจำหน่ายก็จะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการเก็บสินค้าคงคลังจำนวนมาก อย่างไรก็ดี การเป็นผู้แทนจำหน่ายของโทรศัพท์เคลื่อนที่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้แทนจำหน่าย สินค้าจะต้องมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีศักยภาพในการกระจายสินค้า มีการร่วมมือวางแผนการตลาดกับผู้ผลิต โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอย่างดี และมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง ทำให้ปัจจุบันมีผู้แทนจำหน่ายโทรศัพท์เพียงไม่กี่รายในประเทศไทย ซึ่ง แต่ละรายมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน บางรายเป็นผู้แทนจำหน่ายที่เป็นบริษัทย่อยหรือเป็นบริษัทร่วมของผู้ให้บริการเครือข่าย 2. ธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก แนวโน้มอุปสงค์หรือความต้องการพื้นที่ค้าปลีกสำหรับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์สำหรับพื้นที่ค้าปลีก จะถูกกระทบและได้รับ อิทธิพลจากอุตสาหกรรมค้าปลีกในประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมค้าปลีกจะมีแนวโน้มเติบโตตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ย และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็เป็นปัจจัยเสริมที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการพื้นที่ค้าปลีก ซึ่งแนวโน้มการขยายตัวใน อุตสาหกรรมนี้มีทิศทางเพิ่มขึ้น และมีสภาวะการแข่งขันที่สูง แต่ไม่ถึงกับสูงมากในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ต้องใช้เงิน ลงทุนค่อนข้างสูงและต้องอาศัยทีมงานที่มีประสบการณ์สูง ส่งผลให้การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่เป็นไปได้ค่อนข้างยาก 3. ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ การแข่งขันในธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้มีค่อนข้างสูง เนื่องจากมีบริษัทจำนวนมากดำเนินธุรกิจดังกล่าวในอุตสาหกรรม ทำให้มีการ แข่งขันกันในด้านอัตราค่าติดตามหนี้และค่าคอมมิชชั่นค่อนข้างมาก ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) - ไม่มี - สรุปสาระสำคัญของสัญญา 1.สัญญาตัวแทนจำหน่าย -โดยบริษัททำหน้าที่เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท โซนี่ อีริคสันและ อุปกรณ์เสริม โดยมี เงื่อนไขที่ผู้แทนจำหน่ายต้องสั่งสินค้าเป็นรายเดือนและต้องทำการประมาณการขายสินค้าล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน การกำหนดราคาสินค้า จะถูกเสนอโดยตัวแทนจำหน่าย แต่ผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนดราคาขายขั้นสุดท้าย 2.สัญญาตัวแทนจำหน่าย - โดยบริษัททำหน้าที่เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท โมโตโรล่า อิเล็คทรอนิค จำกัด โดยมี เงื่อนไขที่ผู้แทนจำหน่ายต้องสั่งสินค้าเป็นสกุลเงินหรียญสหรัฐฯ และใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่สินค้าเดินทางมาถึง การสั่งซื้อโดย Open Account 3. สัญญาเร่งรัดติดตามหนี้สินที่ไม่ระบุเป้าหมาย- เป็นสัญญาที่บริษัทย่อยทำกับผู้ว่าจ้างในการให้บริการเร่งรัดติดตามหนี้สิน โดยจะได้รับ ค่าตอบแทนเป็นค่าคอมมิชชั่นในอัตราระหว่างร้อยละ 7-40 ขึ้นกับลักษณะของหนี้ โดยค่าตอบแทนจะไม่ผันแปรตามอัตราการเก็บหนี้ได้ (Success Rate) 4. สัญญาเร่งรัดติดตามหนี้สินที่ระบุเป้าหมาย- เป็นสัญญาที่บริษัทย่อยทำกับผู้ว่าจ้างในการให้บริการเร่งรัดติดตามหนี้สิน โดยจะได้รับ ค่าตอบแทนเป็นค่าคอมมิชชั่นในอัตราระหว่างร้อยละ 7-40 ขึ้นกับลักษณะของหนี้ โดยค่าตอบแทนจะผันแปรตามอัตราการเก็บหนี้ได้ (Success Rate) 5. สัญญาว่าจ้างติดตามทวงถามและดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อให้ลูกค้าได้รับชำระหนี้- เป็นสัญญาที่บริษัทย่อยทำกับผู้ว่าจ้างในการ ให้บริการทวงถามและดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อให้ลูกค้าได้รับการชำระหนี้ โดยบริษัทจะได้รับค่าคอมมิสชั่น ค่าธรรมเนียมศาลและ ค่าใช้จ่ายในคดีแพ่งอยู่ระหว่าง 3,500-7,000 บาทต่อคดี ขึ้นอยู่กับภูมิลำเนาของลูกหนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีประมาณ 1,500 บาทต่อ คดี และค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ประมาณ 2,500 บาทต่อคดี และค่าใช้จ่ายในการอายัดเงินเดือน 1,500 บาทต่อคดี 6. สัญญาซื้อขายบัญชีลูกหนี้ด้อยคุณภาพ บริษัทโดยบริษัทย่อย(เจเอ็มที) จะเป็นผู้ซื้อบัญชีลูกหนี้และเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง โดยเจ เอ็มทีต้องเสียค่าตอบแทน ประมาณร้อยละ 3-15 ของมูลหนี้ทั้งหมดให้กับผู้โอน โดยในการโอนซื้อหนี้ภาระผูกพันหรือสิทธิเรียกร้องใดๆ ที่ เป็นของผู้โอนจะตกเป็นของบริษัทย่อยนับตั้งแต่วันที่โอนสิทธิ โดยผู้โอนจะต้องให้ความสะดวกกับเจเอ็มทีในการตรวจสอบข้อมูลหนี้อย่าง เหมาะสม และเจเอ็มทีมีภาระผูกพันที่ต้องปฏิบัติต่อลูกหนี้อย่างเหมาะสม โดยไม่เปิดเผยข้อมูลลูกหนี้ต่อบุคคลภายนอก และไม่ข่มขู่ คุกคาม และแสดงวาจาหยาบคายกับลูกหนี้ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (ถ้ามี) - ไม่มี - การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ - ไม่มี - -5- โครงการดำเนินงานในอนาคต (ถ้ามี) ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เสริมและสินค้าเทคโนโลยี มีเป้าหมายขยายสาขาจาก199 สาขาเป็น 280 สาขาภายในเวลา 2 ปี (ปี 2553) โดยเน้นขยายสาขาในส่วน Modern Trade และสาขาที่ขยายตาม IT Junction เป็นหลัก ธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก มีเป้าหมายขยายสาขาจาก 26 สาขาเป็น 30 สาขา ภายในเวลา 2 ปี โดย (ปี 2553)โดยพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุนและแผนการตลาดให้สอดคล้อง กับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ มีแผนที่จะเพิ่มยอดหนี้ที่ติดตามจาก 10,264 ล้านบาท เป็น 15,000 ล้านบาท ภายใน 2 ปี โดยเน้นขยายในส่วนกลุ่มลูกค้าธนาคารเป็นหลัก นอกจากนี้ บริษัทมีเป้าหมายที่ จะซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเพื่อบริหารเพิ่มเติมอีกประมาณ 115 ล้านบาท ภายใน 2 ปี ส่งผลให้มีเงินลงทุนในลูกหนี้รวม 240 ล้านบาท รายการระหว่างกัน บริษัทมีรายการระหว่างกันกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 1. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง : คุณพิศณุ พงษ์อัชฌา เป็นประธานกรรมการบริษัทถือหุ้นร้อยละ 0.03 ของทุนชำระแล้ว และเป็นพี่ชาย ของคุณยุวดี พงษ์อัชฌา ลักษณะของรายการระหว่างกัน : เช่าโกดังเก็บสินค้า เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ซึ่งสัญญาเช่ามีอายุ 3 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค.2550 ถึง 30 มิ.ย. 2553 โดยมีอัตราค่าเช่า 70,000 บาทต่อเดือน มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2551 : 840,000 บาท มูลค่ารายการระหว่างกัน ม.ค.-มี.ค. 2552 : 210,000 บาท ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล : บริษัท มีพื้นที่ไม่เพียงพอในการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และเครื่องตบแต่งและสถานที่ตั้งดังกล่าวอยู่ ใกล้เคียงกับสำนักงานใหญ่ของบริษัท ซึ่งสะดวกต่อการขนย้ายโดยอัตราค่าเช่าเป็นราคาตลาด เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าเช่าสำหรับ พื้นที่ในบริเวณใกล้เคียง และคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าเป็นอัตราเดียวกับที่เรียกเก็บลูกค้าทั่วไป 2. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง : บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และธุรกิจการซื้อสิทธิเรียกร้อง มีความสัมพันธ์กับเจ มาร์ท คือ มีกรรมการร่วมกับบริษัท เจ มาร์ท โดยคุณเดช บุลสุข ดำรงตำแหน่ง กรรมการอิสระของเจ มาร์ท และดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบของ บมจ. อิออน ธนสินทรัพย์ ลักษณะของรายการระหว่างกัน : ให้เช่าพื้นที่ 1 แห่ง (พื้นที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และ ยกเลิกสัญญาเมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2551) และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแนะนำลูกค้าเป็นการเรียกเก็บค่าบริการต่อรายสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อเช่าซื้อผ่านอิออนโดย เรียกเก็บตามรายการที่เกิดขึ้นจริงและ รับจ้างติดตามทวงหนี้สิน มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2551 : 185,400 บาท สำหรับการให้เช่าพื้นที่อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และ 9,584,211 บาท สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอิออน และ 19,460,390 บาท สำหรับการ รับจ้างทวงถามหนี้สิน มูลค่ารายการระหว่างกัน ม.ค.-มี.ค. 2552 : 1,177,084 บาท สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอิออน และ 3,451,095 บาท สำหรับการรับจ้างทวงถามหนี้สิน ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล : บริษัทบริหารพื้นที่เช่า โดยจัดสรรให้อิออนเช่าต่อ โดยค่าเช่าและค่าบริการ สาธารณูปโภคมีความสมเหตุสมผล และอัตราค่าเช่าเป็นราคาตลาด ส่วนรายการเป็นการทำธุรกิจเช่าซื้อผ่านอิออน เป็นการดำเนินธุรกิจ ตามปกติของบริษัทฯเป็นไปตามรายการที่เกิดขึ้นจริง และ การให้บริการติดตามหนี้สินและรับ-ส่งเอกสาร เป็นการดำเนินธุรกิจปกติของ เจ เอ็ม ที ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ซึ่งทั้งรายการทั้งหมดคณะกรรมการตรวจสอบได้ให้ความเห็นว่ารายการมีความสมเหตุสมผลและยุติธรรม 3. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งกัน : บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด ดำเนินธุรกิจให้บริการติดตามหนี้สิน มีความสัมพันธ์ กับเจ มาร์ท คือ ถือหุ้นโดยบริษัทเจ มาร์ท ร้อยละ 99.99 ของทุนชำระแล้ว -6- ลักษณะของรายการระหว่างกัน : เรียกเก็บรายได้ค่าบริหารงานและให้เช่าพื้นที่ (เนื้อที่ 11.5 ตรม ที่ Central Pattaya และ ยกเลิกสัญญา เมื่อ 31 ธันวาคม 2551) มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2551 : 3,132,000 บาทสำหรับการเรียก เก็บรายได้ค่าบริหารงาน และ 32,250 สำหรับ การให้เช่าพื้นที่ มูลค่ารายการระหว่างกัน ม.ค.-มี.ค. 2552 : 720,000 บาทสำหรับการเรียก เก็บรายได้ค่าบริหารงาน ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล : 1) บริษัทให้บริการกับ เจ เอ็ม ที เนื่องจากเจ เอ็ม ที เป็นบริษัทย่อยและถ้าเจ เอ็ม ที จะ ดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดเองจะเกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ให้ความเห็นว่าเป็นรายการที่มีความจำเป็นและ สมเหตุสมผล 2) ค่าเช่าและค่าบริการสาธารณูปโภคมีความสมเหตุสมผลโดยอัตราค่าเช่าเป็นราคาตลาด เมื่อ เปรียบเทียบกับอัตราค่าเช่าสำหรับพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียง 4. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งกัน : บริษัท ที.เอ.เอส.แอสเซ็ท จำกัด "ที เอ เอส" ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอาคารที่พักอาศัย มีความสัมพันธ์ กับบริษัทเจ มาร์ท คือ เป็นบริษัทที่มีกรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ร่วมกับบริษัท เจ มาร์ท โดยคุณยุวดี พงษ์อัชฌา ซึ่งดำรงตำแหน่ง กรรมการของเจ มาร์ท และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเจ มาร์ท เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ที เอ เอส ลักษณะของรายการระหว่างกัน : ให้เช่าพื้นที่ ใน ตึก UM Tower 1 ปี (เนื้อที่ 15.4 ตรม ณ ตึก UM Tower และ ได้ยกเลิกสัญญาเมื่อ 31 มค. 2552) มูลค่ารายการระหว่างกันในปี 2551 : 46,200 บาท มูลค่ารายการระหว่างกัน ม.ค.-มี.ค. 2552 : 3,850 บาท ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล : บริษัทจัดสรรพื้นที่ส่วนที่เหลือให้ ที.เอ.เอส.แอสเซ็ท เช่าต่อโดยค่าเช่าพื้นที่มีความ สมเหตุสมผลเป็นราคาตลาด คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าเป็นอัตราเดียวกับที่เรียกเก็บลูกค้าทั่วไป ภาระผูกพัน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันดังต่อไปนี้ ภาระผูกพันระหว่างบุคคลและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 1.บริษัทได้ทำสัญญารับจ้างบริหารงานกับ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (บริษัทย่อย) ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทจะ ให้บริการด้านการจัดทำบัญชีและยื่นภาษี การบริหารและติดตามหนี้สิน และเมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว บริษัทย่อยสามารถต่อสัญญาได้อีก ทุกๆปี โดยบริษัทย่อยต้องแจ้งให้บริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนครบสัญญา โดยระยะเวลาตามสัญญา 1 ปี และมีอัตราค่าบริการ 240,000 บาทต่อเดือน 2.บริษัทได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่อาคารกับกรรมการท่านหนึ่ง เพื่อเป็นสถานที่เก็บสินค้า โดยบริษัทจะจ่ายชำระค่าเช่าพื้นที่อาคารตามอัตราค่าเช่า ทั่วๆไป เป็นจำนวน 70,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ภาระผูกพันกับบุคคลภายนอก 3.บริษัทมีภาระผูกพันจากการที่ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันในนามของบริษัทเหลืออยู่เป็นจำนวนเงินประมาณ 54.8 ล้านบาท ซึ่งเกี่ยวเนื่อง กับภาระผูกพันทางปฏิบัติบางประการตามปกติธุรกิจของบริษัท 4.บริษัทมีภาระผูกพันตามสัญญาให้บริการต่างๆที่ต้องชำระในอนาคตเป็นจำนวน 9.6 ล้านบาท 5.บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันตามสัญญาเช่า และสัญญาบริการระยะยาว ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับการเช่าสถานที่เพื่อใช้ในการ ดำเนินงานร้านค้าปลีก อาคารสำนักงาน และสถานที่เก็บสินค้าโดยมีค่าเช่าและค่าบริการที่ต้องจ่ายตามสัญญาที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ยังไม่รวมค่า เช่าที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการต่อสัญญา) รวม 604.5 ล้านบาท ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 1. ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ความเสี่ยงจากการด้อยค่าของสินค้าคงคลัง - เนื่องจากสินค้าหลักของบริษัท ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เสริม ซึ่งเป็นสินค้าเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีความเสี่ยงจากการด้อยค่าของสินค้าคงคลัง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีหรือการ ออกสินค้ารุ่นใหม่ที่ดีกว่าหรือพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จนทำให้สินค้าคงคลังที่มีอยู่ไม่สามารถขายได้หรือมีมูลค่า -7- ลดลง อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าผลกระทบจากความเสี่ยงนี้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากบริษัทได้ศึกษาและสำรวจความต้องการ ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคตลอดเวลารวมทั้งติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถเลือกรุ่น สินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งใน ไตรมาส 1 ปี 2552 บริษัทมีการตั้งสำรองเผื่อผลขาดทุนจาก สินค้าเสื่อมสภาพและล้าสมัยเพียง 9.06 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 0.78 ของรายได้จากธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เสริมและสินค้าเทคโนโลยี ไตรมาส 1 ปี 2552 หรือ ร้อยละ 1.8 ของสินค้าคงคลัง แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีการบริหาร จัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ และมีอายุเฉลี่ยสินค้าคงคลังที่ค่อนข้างสั้น ความเสี่ยงจากการพึ่งพากลุ่มคู่ค้า (Supplier) รายสำคัญ - บริษัทสั่งซื้อสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่จากผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือผู้แทนจำหน่าย 5 แบรนด์หลัก ได้แก่ Nokia, Motorola, Sony Ericsson Samsung และ LG ทำให้บริษัทมีอำนาจต่อรองกับกลุ่มดังกล่าวไม่มากนักและอาจมีความเสี่ยง จากการไม่สามารถหาสินค้ามาขายทดแทนได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากการที่กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามาดำเนินการ กระจายสินค้าโดยตรงในส่วนค้าปลีกและค้าส่ง อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่ามีความเสี่ยงดังกล่าวไม่มากนัก เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิต โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ จึงไม่มีความเชี่ยวชาญในช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศไทย ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่กับผู้แทนจำหน่ายและกลุ่มผู้ค้าปลีกรายใหญ่เป็นไปในลักษณะพึ่งพา อาศัยกัน ความเสี่ยงจากการพึ่งพาทีมงานและผู้บริหาร - ผู้บริหารและทีมงานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายการดำเนินธุรกิจและกำกับธุรกิจให้เป็นไปใน แนวทางที่กำหนด ซึ่งหากบริษัทขาดทีมผู้บริหารหลักก็อาจเป็นเหตุให้บริษัทไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาบริษัทมีมาตรการในการจัดสรรและกระจายหน้าที่อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีแผนการพัฒนาเพื่อเพิ่ม ความรู้ความสามารถให้บุคลากรอย่างสม่ำเสมอ จึงเชื่อมั่นว่าจะมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจสืบทอด หน้าที่แทนผู้บริหารท่านดังกล่าวที่อาจลาออกหรือเกษียณ ความเสี่ยงจากการที่ธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง - เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มากและมีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจไม่ซับซ้อน ทำให้ บริษัทเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่สูงและอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ นอกจากนี้บริษัทยังมีความเสี่ยงจากการที่คู่แข่ง ในอุตสาหกรรมอาจขายสินค้าทดแทน เช่น สินค้ามือสอง สินค้าผิดกฎหมาย สินค้าเลี่ยงภาษีหรือสินค้าลอกเลียนแบบ เป็นต้น อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าจะมีความเสี่ยงจากประเด็นดังกล่าวไม่มากนัก เนื่องจากการเข้ามาดำเนินธุรกิจค้าปลีก โทรศัพท์เคลื่อนที่มีข้อจำกัดที่สำคัญ (Barriers to Entry) 2 ประการ คือ การไม่สามารถหาทำเลพื้นที่ร้านค้าที่เหมาะสมและ การไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่และไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายหรือกลุ่มผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ ส่วนกรณีตลาดสินค้ามือสอง สินค้าหนีภาษีและสินค้าลอกเลียนแบบ คาดว่าส่งผลกระทบต่อ บริษัทน้อย เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายที่ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่มือสองกับกลุ่มที่ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่จากร้านเจ มาร์ทเป็นคนละ กลุ่มกัน โดยกลุ่มลูกค้าของบริษัทเน้นเรื่องการให้บริการและความเชื่อมั่นในคุณภาพมากกว่าราคาสินค้าซึ่งเป็นลูกค้าของ ตลาดสินค้ามือสอง ความเสี่ยงจากการเกิดความเสียหายจากการทุจริตของพนักงานระดับปฏิบัติงาน - เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสินค้าที่มีมูลค่าพอสมควร เคลื่อนย้ายสะดวกและเป็นที่ต้องการโดยทั่วไป จึงมีความเสี่ยงจาก การทุจริตของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทจึงได้วางระบบควบคุมภายในและระบบสอบทานไว้อย่างดีโดยการนำระบบ สารสนเทศมาช่วยสนับสนุน มีการตรวจสอบสม่ำเสมอและพนักงานดูแลสินค้าทุกรายต้องร่วมกันรับผิดชอบกรณีสินค้าสูญหาย โดยต้องมีเงินประกันกับบริษัทจำนวนหนึ่ง จากมาตรการลงโทษนี้ทำให้บริษัทสามารถตรวจพบได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการทุจริต ทั้งนี้ ในปี 2550 บริษัทมีความเสียหายจากการทุจริตของพนักงานมูลค่าประมาณ 650,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของ รายได้รวมในปี 2550 ในขณะที่ปี 2551บริษัทไม่มีความเสียหายอันเกิดจากการทุจริตพนักงานเลย คงมีแต่ความเสียหาย เล็กน้อยที่เกิดจากการผิดพลาดในการขาย ซึ่งบริษัทก็ได้เรียกเก็บค่าเสียหายดังกล่าวจากพนักงานที่ปฏิบัติผิดพลาดซึ่งเป็นไป ตามข้อตกลง นอกจากนี้บริษัทได้มีการทำประกันความซื่อสัตย์ของพนักงาน ซึ่งหากบริษัทได้รับความเสียหายจากการทุจริต ของพนักงาน ก็จะได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกัน -8- 2. ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจให้เช่าพื้นที่ ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงเจ้าของพื้นที่และความเสี่ยงจากการไม่ได้รับการต่อสัญญา - บริษัทดำเนินธุรกิจในการบริหารพื้นที่เช่าใน 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการบริหารพื้นที่เฉพาะส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่และสินค้า เทคโนโลยีนาม IT Junction โดยบริษัทเช่าช่วงมาจากห้างสรรพสินค้าและโมเดิร์นเทรด ซึ่งเป็นสัญญาเช่าพื้นที่ระยะสั้น 1- 3 ปี ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงที่จะได้ไม่ได้รับการต่อสัญญาหรือถูกเรียกร้องค่าเช่าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการทำสัญญาระยะสั้นจะ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเลือกสถานที่ผิดพลาดและประสบปัญหาขาดทุนจากการบริหารพื้นที่ อีกทั้งความสำเร็จในการบริหาร พื้นที่ที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจจึงได้รับการต่อสัญญาจากเจ้าของพื้นที่มาตลอด 2) การบริหารพื้นที่ค้าปลีกทั้งหมด (Stand Alone) ซึ่งมีสินค้าเทคโนโลยีเป็นจุดขายหลักในนาม เจ-เวนิว โดยทำสัญญาเช่าช่วงในลักษณะเช่าเหมาอาคารหรือเช่าพื้นที่ ส่วนใหญ่ระยะยาว 10-15 ปี ซึ่งบริษัทคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่พอเพียงต่อความเสี่ยงและต้นทุนเงินลงทุนที่บริษัทแบก รับอยู่ ซึ่งหากเจ้าของพื้นที่ไม่ต่อสัญญา บริษัทก็จะได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าพึงพอใจแล้ว 3. ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจบริการติดตามเร่งรัดหนี้ ความเสี่ยงจากสภาวการณ์ที่มีอัตราการลาออกของพนักงานสูง - รูปแบบการติดตามหนี้และการเจรจาเร่งรัดชำระหนี้ส่งผลให้พนักงานติดตามหนี้มีความตึงเครียดและมีอัตราการลาออกสูง ส่งผลให้บริษัทมีความเสี่ยงจากการมีบุคลากรไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานไม่ต่อเนื่องจนอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานของ บริษัทได้ อย่างไรก็ตามบริษัทตระหนักดีถึงปัญหาดังกล่าวจึงมีการวางระบบการทำงานที่ดี โดยกระจายข้อมูลรวมไปให้ทีมงาน ติดตามหนี้และบันทึกข้อมูลการติดตามลงในฐานข้อมูลส่วนกลาง ดังนั้น ถึงแม้พนักงานจะลาออก บริษัทก็สามารถติดตาม ข้อมูลและดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงจากการฟ้องร้องดำเนินคดีอันเกิดจากการติดตามหนี้ - บริษัทมีความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากลูกหนี้ อันเป็นผลจากการติดตามเร่งรัดหนี้ของบริษัทซึ่งอาจทำให้เกิดข้อ ขัดแย้งกับลูกหนี้ที่ถูกติดตามหนี้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาไม่เคยมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากบริษัทมีการอบรมและมี มาตรการทางวินัยควบคุมดูแลให้พนักงานติดตามเร่งรัดหนี้ปฏิบัติต่อลูกหนี้ด้วยวิธีการที่สุภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการ ปฏิบัติงานของบริษัทและผู้ว่าจ้าง ดังนั้นโอกาสที่บริษัทจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีมีน้อยมาก ความเสี่ยงจากการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อสังคม - เนื่องจากผู้เร่งรัดหนี้บางรายในกลุ่มอุตสาหกรรมกระทำการเร่งรัดหนี้ในแนวทางที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้คำไม่สุภาพ ติดตามหนี้ ในลักษณะที่สร้างความรำคาญและก่อกวน จนถึงขั้นทำการข่มขู่ ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจะถูกกล่าวหาหรือถูกจัดรวมว่ามีการ ดำเนินธุรกิจไม่เหมาะสมจนอาจเสื่อมเสียถึงภาพลักษณ์ของบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทมีนโยบายอย่างเข้มงวดในการติดตาม เร่งรัดหนี้ในลักษณะสุภาพและให้เกียรติลูกหนี้ โดยบริษัทกำหนดนโยบายช่วงเวลาโทรติดตามเร่งรัดหนี้ ซึ่งเป็นไปตามแนว ปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ตามหนังสือเวียนที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนลูกหนี้ ทำให้บริษัท ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากลุ่มผู้ว่าจ้างในระดับสูงในด้านคุณภาพการติดตามหนี้ 4. ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ความเสี่ยงจากการลงทุนซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาบริหาร - บริษัทดำเนินธุรกิจในการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากบริษัทเช่าซื้อและสถาบันการเงินมาดำเนินการจัดเก็บหนี้และติดตามด้วย ตนเอง ทำให้บริษัทอาจมีความเสี่ยงจากการที่บริษัทไม่สามารถจะเก็บหนี้ได้ตามเป้าหมายและประสบปัญหาขาดทุนจากการ ดำเนินงานดังกล่าว อย่างไรก็ดี บริษัทมีการวางแผนอย่างรอบคอบในการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาบริหารในแต่ละครั้ง โดยบริษัท จะทำการตรวจสอบข้อมูลหนี้โดยละเอียด เพื่อประเมินสัดส่วนเงินที่บริษัทจะจัดเก็บได้ ทำให้บริษัทมั่นใจว่าบริษัทมีศักยภาพ ในการติดตามหนี้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้และจะได้รับรายได้ในระดับที่คุ้มความเสี่ยง 5. ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงจากความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน - เนื่องจากบริษัทมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในส่วนการสั่งซื้อสินค้าจาก Motorola และ J-Fone อย่างไรก็ตามคาดว่า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมีไม่มากนัก เนื่องจาก บริษัทมีนโยบายในการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวด้วยสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าทั้งการรับประกันความเสี่ยงเต็มจำนวน (Fully Hedging) หรือ (Partial Hedging) โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ ทีมงานที่ขึ้นตรงกับคณะกรรมการบริหาร ซึ่งมีผู้อำนวยการฝ่ายการเงินเป็นหัวหน้าทีม อีกทั้ง ตั้งแต่ปี 2552 คาดว่าบริษัทจะมี ความเสี่ยงจากความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง เนื่องจาก มีการสั่งซื้อสินค้าจาก Motolora ลดลง โดยมีสาเหตุหลัก จากการที่ Motorola ได้ยกเลิกกิจกรรมทางการตลาดในประเทศไทย -9- ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจโดยมีอัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิต่ำ - (ยังมีต่อ)